โครงการประจำปีการศึกษา 2567 (ส.ค.67 - ก.ค. 68)

Better balance for fall prevention in aging well (26-27 มิย. 68)

หลักการและเหตุผล

         สถานการณ์การหกล้มของผู้สูงอายุใน ประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ.2560 – 2564 พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 1.5 เท่า และพบได้ในสถานการณ์ทั่วไป เช่น หกล้มในบ้านหรือนอกบ้าน ขณะเดินทาง สถานที่ทำงาน ถนน นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 5-10 ของการหกล้ม มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น กระดูกหัก การบาดเจ็บของสมอง และมีอัตราการ เสียชีวิตถึง ร้อยละ 20-30 นอกจากนนี้ร้อยละ 25- 75 สูญเสียความสามารถในการดำเนินกิจวัตร ประจำวัน และผู้ที่เคยหกล้ม มักจะเกิดความกังวล มีภาวะซึมเศร้า ตลอดจน สูญเสียความมั่นใจในการเดิน ถึง ร้อยละ 30-73

          จากการประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม พบว่า มีประวัติโรคประจำตัวมากถึง ร้อยละ 61.70  การรับประทานยาเสี่ยงร้อยละ 49.54 เช่นมีอาการคลื่นไส้เวียนศีรษะ มึนงง ง่วงนอน จากการรับประทานยาเป็นต้น ร้อยละ 13.50 ไม่ได้ออกกำลังกาย ร้อยละ 21.50 มีการมองเห็นบกพร่อง ในแต่ละปีผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไปจะมีการหกล้มประมาณร้อยละ 28 - 30 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 32 - 42 ในกลุ่ม ผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ความถี่ของการหกล้มเพิ่มขึ้นตามอายุและระดับความอ่อนแอของร่างกาย ข้อมูลจาก(การป้องกันการหกล้ม (fall prevention) ของผู้สูงอายุในชุมชน: การสังเคราะห์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันเอกหญิง ดร.นงพิมล นิมิตรอานันท 2562)

          สำหรับการสัมมนาในหัวข้อ  Better  Balance for fall prevention in  aging  well มีจุดมุ่งหมายให้นักกายภาพบำบัดทั่วไปหรือผู้ที่สนใจศาสตร์การออกกำลังกายเข้าใจในเทคนิคการออกกำลังกายเพื่อชะลอหรือลดการเกิดการบาดเจ็บจากการล้ม รวมไปถึงการเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ การทรงท่าให้ กล้ามเนื้อให้เกิดเคลื่อนไหวแบบผสมผสานและเกิดการเรียนรู้ของโครงสร้างของตัวเอง สามารถรักษาความสมดุลนี้อย่างต่อเนื่องและปรับเข้ากับอายุ เพื่อลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บให้น้อยลงในอนาคต

วัตถุประสงค์ของโครงการ          

  1. เพื่อให้นักกายภาพบำบัดเข้าใจองค์ประกอบกลไกที่ถูกต้องตามสรีระของแต่ละโครงสร้างที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่เกิดจากการล้ม
  2. เพื่อให้นักกายภาพบำบัดได้นำเอาเทคนิคเรียนรู้ ออกแบบ การออกกำลังให้ถูกต้องมาแก้ไขปัญหาทางด้านการทรงท่าและการใช้กล้ามเนื้อที่ไม่ถูกต้องของผู้ป่วย
  3. เพื่อให้นักกายภาพบำบัดนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยหรือบุคคลทั่วไปได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  4. เพื่อให้นักกายภาพบำบัดหรือผู้ที่สนใจศาสตร์ด้านออกกำลังกาย นำหลักการไปปรับเข้ากับการออกกำลังกายแต่ละชนิดได้อย่างปลอดภัย
  5. นักกายภาพบำบัดสามารถออกแบบการออกกำลังกาย ให้เหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วย เพื่อวางแผนในการป้องกันปัญหาจากการบาดเจ็บได้ในอนาคต
  6. เพื่อบูรณาการการบริการวิชาการเข้ากับการเรียนการสอน งานบริการวิชาการ และงาน

กายภาพบำบัด และบรรลุพันธกิจของคณะฯ และ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ